อ่างเก็บน้ำลำคันฉู


โครงการอ่างเก็บน้ำลำคันฉู

ประวัติโครงการ

          โครงการอ่างเก็บน้ำลำคันฉู ในลุ่มน้ำลำคันฉู (รหัสลุ่มน้ำ 110) เป็นโครงการชลประทาน   ขนาดกลาง  ได้พิจารณาขึ้นเป็นการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค  บริโภค  และการเกษตรของราษฎรในพื้นที่ฝั่งลำคันฉู  ตั้งแต่บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำในเขตตำบลโคกเพชรพัฒนา     อำเภอบำเหน็จณรงค์  ครอบคุลมมาถึงตำบลต่าง ๆ ที่ลำน้ำไหลผ่านจนเข้าเขตอำเภอจัตุรัสก่อนที่จะไหลลงสู่  บึงละหาน   อันเป็นหนองน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่  และไหลลงแม่น้ำชีตามลำดับ
          ตำบลต่าง ๆ  ที่กล่าวข้างต้น  ได้แก่  โคกเพชรพัฒนา    บ้านเพชร    เกาะมะนาว   โคกเริงรมย์   บ้านชวน     บ้านตาล   หัวทะเล  บ้านขาม  หนองโดน  กุดน้ำใส  บ้านกอก  หนองบัวใหญ่  เป็นต้น
          ซึ่งราษฎรบริเวณนี้ได้เคยมีเรื่องร้องเรียนต่อทางราชการ  ให้ช่วยเหลือแก้ไขสภาพการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค  บริโภค  และการเกษตรของราษฎร  ตามหนังสือที่  ชย.0516/251  ลงวันที่  29  มิถุนายน  2526    และหนังสือที่  ชย.0416/139  ลงวันที่  11  มกราคม  2531 
          ในพื้นที่ลุ่มน้ำลำคันฉูนั้น  กรมชลประทานได้เคยศึกษาและวางโครงการอ่างเก็บน้ำลำคันฉู  ประกอบด้วย  การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำและระบบชลประทานจากอ่างเก็บน้ำบนพื้นที่ประมาณ 15,000 ไร่  และได้ศึกษาเพิ่มเติมอีกกรณีหนึ่งคือ  เมื่อสร้างอ่างเก็บน้ำเสร็จแล้วจะปล่อยน้ำลงลำน้ำเดิม  เพื่อให้ราษฎรตามริมน้ำอาศัยฝายที่มีอยู่เดิมตามลำน้ำทดน้ำไปใช้ได้
          โดยเรื่องการดำเนินงานโครงการอ่างเก็บน้ำลำคันฉูนี้  ทางกรมชลประทานมีแผนงานที่จะพัฒนา  โครงการลำคันฉูเป็นอันดับแรกของแผนพัฒนาลุ่มน้ำชีตอนบน เพื่อให้สอดคล้องตามแผนโครงการอีสานเขียว  จึงได้ศึกษาและกำหนดรูปแบบการพัฒนาโครงการลำคันฉู  ในขั้นสุดท้ายโดยก่อสร้างเป็น อ่างเก็บน้ำ  มีพื้นที่รับน้ำฝน  210  ตร.กม. (131,250  ไร่) ความจุที่ระดับน้ำเก็บกัก +265.00 ม. (รทก.)    42.6  ล้าน ลบ.ม.   พื้นที่ผิวอ่างเก็บน้ำที่ระดับสูงสุด +266.87  ม.(รทก.) 9.296  ตร.กม.  (5,810  ไร่)  พื้นที่รับประโยชน์ท้ายน้ำเฉลี่ย  43,000  ไร่  (ฤดูฝน)  ซึ่งบริเวณโครงการอ่างเก็บน้ำลำคันฉู  อยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ  นายางกลัก  ทำนบดินตัวเขื่อนบริเวณที่ทำการ  บ้านพัก,  บ่อยืมดินและถนนเข้าหัวงานเขื่อน  บางส่วนจะอยู่ในเขตหมู่บ้านโคกพงาด  ต.โคกเพชรพัฒนา  อ.บำเหน็จณรงค์  จ.ชัยภูมิ    ส่วนบริเวณน้ำท่วมทำนบดินตัวเขื่อนอาคารบ้านพักจะอยู่ในเขต  ต.ห้วยยายจิ๋ว    อ.เทพสถิต  จ.ชัยภูมิ  เป็นส่วนมาก

ที่ตั้ง
          โครงการลำคันฉู  ตั้งอยู่ที่บ้านโคกพงาด   ตำบลโคกเพชรพัฒนา  อำเภอบำเหน็จณรงค์  จังหวัดชัยภูมิ  ส่วนพื้นที่อ่างเก็บน้ำครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกเพชรพัฒนา  อำเภอบำเหน็จณรงค์  และตำบลห้วยยายจิ๋ว  อำเภอเทพสถิต  จังหวัดชัยภูมิ และเป็นจังหวัดหนึ่งที่อยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จุดที่ตั้งโครงการห่างจากจังหวัดชัยภูมิประมาณ  100  กม. 

ระยะเวลาก่อสร้าง
          ระยะเวลาก่อสร้าง  โดยเริ่มงานก่อสร้างในปีงบประมาณ  2533  แล้วเสร็จ  ในปีงบประมาณ  2543  รวมระยะเวลาก่อสร้าง  11  ปี  ราคาก่อสร้าง  265.437  ล้านบาท

ประโยชน์ที่ได้รับเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ

          ผลประโยชน์ที่ไดรับเมื่อทำการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำลำคันฉูเสร็จ  จนสามารถเก็บกักน้ำได้เรียบร้อย  และสามารถส่งน้ำได้  จะมีดังนี้คือ
                   1.  บริเวณอ่างเก็บน้ำ  จะเป็นสถานที่เพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด  และจะเป็นที่ทำให้ราษฎรที่อยู่ในบริเวณรอบ ๆ  อ่างเก็บน้ำ  ซึ่งส่วนมากเป็นราษฎรในเขต  ต.ห้วยยายจิ๋ว  อ.เทพสถิต  สามารถประกอบอาชีพทำนาได้ต่อไปในอนาคต
                   2.  บริเวณที่เกษตรกรเคยทำนาตามลำคันฉู  ด้านท้ายน้ำจะสามารถใช้น้ำในลำคันฉู  ประกอบอาชีพทำนาได้  โดยไม่ขาดแคลนน้ำ  ซึ่งคาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อพื้นที่ทำนาปีได้  ในเขต  อ.บำเหน็จณรงค์  อ.จัตุรัส      ประมาณ  47,500  ไร่
                   3.  สนองความต้องการน้ำเพื่ออุปโภคและบริโภค  อ.เทพสถิต  อ.บำเหน็จณรงค์  อ.จัตุรัส   ให้สามารถมีน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคได้อย่างไม่ขาดแคลน
                   4.   บรรเทาอุทกภัยในบริเวณลุ่มแม่น้ำชี
                   5.  ให้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของราษฎรที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียง
การคมนาคม
          การเดินทางเข้าสู่หัวงานสามารถเดินทางได้สะดวกทุกฤดูกาโดยทางรถยนต์  โดยเริ่มจากที่ว่าการอำเภอบำเหน็จณรงค์  ไปตามลาดยางสาย  อ.บำเหน็จณรงค์  ตลาดคำปิง   ประมาณ  7 กม. ถึง       สี่แยกเลี้ยวขวาไปตามถนนลาดยางสายราชสีมา - ลำนารายณ์  (ถนนสุรนารายณ์)  ประมาณ  8  กม.  ก่อนถึงโรงเรียนโคกหินตั้งศึกษาศิลป์  เลี้ยวขวาตามถนนลูกรังไปทางทิศเหนือ  ประมาณ  15  กม.  โดยผ่านหมู่บ้านปากจาบ  ผ่านโรงเรียนปากจาบวิทยา  ผ่านโรงเรียนโคกสำราษฎร์อำนวย  ก็จะถึงบริเวณ หัวงาน  รวมระยะทางทั้งหมดจากตัวอำเภอบำเหน็จณรงค์  ถึงหัวหน้าโครงการ  ประมาณ  30  กม.       
โครงการอ่างเก็บน้ำลำคันฉู

ชนิด              เขื่อนดินเหนียว  แบบ   ZONE  TYPE
จุดที่ตั้ง           บ้านโคกพงาด   ตำบลโคกเพชรพัฒนา   อำเภอบำเหน็จณรงค์   จังหวัดชัยภูมิ
                   ละติจูด           N        15  °   29 ¢    21²
                   ลองติจูด E        101  ° 33 ¢    12²
                   พิกัด                                           47  PQT  739 – 139
                   ระดับสันเขื่อน                                +269.000        ม. (รทก.)
                   ความกว้างสันเขื่อน                           8.00                       ม.
                   ความยาวสันเขื่อน                            2,008                      ม.
                   ปริมาตรวัสดุถมตัวเขื่อน                      885,000                   ลบ.ม.
                   ความสูงที่จุดลึกสุด                            26.00                      ม.
                   ความกว้างฐานที่จุดลึกสุด                    153.75                    ม.
                   ความลาดด้านเหนือน้ำ                       1 : 2.5,  1:3
                   ความลาดด้านท้ายน้ำ                         1 : 2.5
                   พื้นที่รับน้ำฝน                                 210              ตร.กม.    (131,250  ไร่)
                   ระดับน้ำสูงสุด                                +266.870                 ม. (รทก.)
                   จุน้ำประมาณ                                 56.00                      ล้าน.ลบ.ม.                
                   พื้นที่ผิวน้ำ                                    9.296             ตร.กม.  (5,810  ไร่)
                   ระดับน้ำเก็บกัก                               +265.000                 ม.(รทก.)
                   จุน้ำประมาณ                                 42.60                      ล้าน.ลบ.ม.
                   พื้นที่ผิวน้ำ                                    7.200             ตร.กม.  (4,500  ไร่)
                   ระดับน้ำต่ำสุด                                +253.000                 ม. (รทก.)
                   จุน้ำประมาณ                                 3.300                      ล้าน.ลบ.ม.
                   พื้นที่ผิวน้ำ                                    1.248           ตร.กม.  (780  ไร่)
                   ระดับท้องน้ำ                                  +243.000                        ม. (รทก.)
ทางระบายน้ำล้น

                   ชนิด                                           SIDE   CHANNEL
                   ขนาด                                          60.00            ม.
                   จุดที่ตั้ง                                        กม.  0 + 083             ฝั่งซ้าย
                   ระดับสันฝาย                                  +265.000                 ม. ( รทก.)
                   ระดับน้ำนองสูงสุด                            +266.870                 ม. ( รทก.)
                   ระบายน้ำได้ประมาณ                        282.00                    ลบ.ม. / วินาที